ขนมหวานไทย
ประวัติขนมหวานไทย
ขนมไทยนั้นเกิดมีมานานแล้วตั้งแต่ประเทศไทยยังเป็นสยามประเทศ
ซึ่งสมัยนั้นได้ติดต่อ ค้าขายกับต่างชาติ
โดยมีการแลกเปลี่ยนติดต่อกันทั้งทางด้านสินค้าและวัฒนธรรม ขนมไทยในยุคแรกๆ
เป็นเพียงนำข้าวไปตำหรือโม่ให้ได้แป้ง และนำไปผสมกับน้ำตาล หรือมะพร้าว
เพื่อทำเป็นขนม แต่หลังจากการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ
วัฒนธรรมด้านอาหารของต่างชาติก็เข้ามามีอิทธิพลกับอาหารไทยมากขึ้น
ขนมก็ด้วยเช่นกัน ขนมไทย จึงมีความหลากหลายมากขึ้น จนปัจจุบันยังยากที่จะแยกออกว่า
ขนมใดคือขนมไทยแท้
รูปภาพขนมหวานไทย
ผู้ประดิษฐ์ขนมหวานไทย
ท้าวทองกีบม้า
มีชื่อตัวว่า มารีอา กูโยมาร์เดปิญญา (Maria GuyomardePinha) แต่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ มารี กีมาร์ (Marie Guimar พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 - พ.ศ. 2265) เป็นสุภาพสตรีช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ภรรยาของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน
ฟอลคอน)ขุนนางกรีกที่ทำราชการในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเธอมีชื่อเสียงจากการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าห้องเครื่องต้นวิเสทในราชสำนัก
ตำแหน่ง "ท้าวทองกีบม้า"
ว่ากันว่านางได้ประดิษฐ์ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารโปรตุเกส อาทิ ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ทองม้วน และหม้อแกง จนได้สมญาว่าเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย" แต่ก็มีกระแสคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า
ขนมโปรตุเกสเหล่านี้แพร่หลายมาพร้อมกับกลุ่มชนเชื้อสายโปรตุเกสที่เข้ามาพำนักในกรุงศรีอยุธยามากว่า
150 ปีก่อนที่นางจะเกิดเสียอีก
เรื่องที่นางดัดแปลงขนมไทยจากตำรับโปรตุเกสเป็นคนแรกเห็นจะผิดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น